การเลือกใช้ตัวต้านทานและการเทียบตัวต้านทาน ตัวต้านทานใช้แทนได้ไหมและถามค่าอาร์ที่จะใช้แทนสามารถหาตำตอบจากบทความ

การเลือกใช้ตัวต้านทานและการเทียบสเปคตัวต้านทานใช้แทน

สอบถามเรื่องตัวต้านทานใช้แทนได้ไหม และถามค่าอาร์  ตัวต้านทานเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานที่นิยมเทียบสเปคเนื่องจากสามารถเทียบสเปคได้ง่ายและใช้งานแทนได้จริง มีความเสี่ยงน้อยมากที่จะใช้แทนไม่ได้  ข้อมูลที่จำเป็นต้องทราบคือข้อมูลของตัวต้านทานตัวเก่า  ถ้าตัวต้านทานไหม้จำเป็นต้องหาข้อมูลค่าของ  R  จาก ข้อความ ตัวเลข ตัวอักษร  จากคู่มือ หรือวิธีการอื่นๆที่นอกตำรา  เช่น ถ้ามันขาดก็ลองต่อจุดที่ขาดก่อน จากนั้นเอามัลติมิเตอร์วัดดูค่าโอห์ม  จะช่วยให้ประมาณค่า คาดเดาค่าใกล้เคียงที่ควรจะเป็นจากหลักฐานที่มีอยู่


ตัวต้านทาน เทียบสเปค  ใช้แทน  ຕົວຕ້ານທານ

สเปคที่ต้องคำนึงถึงในการเทียบสเปคตัวต้านทานมีดังนี้

1).  ค่าความต้านทานกี่โอห์ม ?   กี่ K  Ohm  ,  Mega Ohm    -----  ต้องค่าเท่าเดิม
2).  % ความคลาดเคลื่อน   ----------ต้องเท่าเดิมหรือ  %  น้อยกว่าได้
3).  กำลังไฟฟ้าหรือวัตต์ของตัวต้านทาน  ------ ต้องเท่าเดิมหรือมากกว่าได้
4).  ชนิดของวัสดุ เช่น  ตัวต้านทานเมตัลฟิล์ม  ตัวต้านทานคาร์บอนฟิล์ม  ตัวต้านทานไวร์วาวด์  ตัวต้านทานทนความร้อน  ตัวต้านทานกระเบื้อง   เป็นต้น ควรใช้  R ชนิดเดิม บางวงจรใช้ R ต่างชนิดแทนได้
5).  ประเภทของวงจรและการใช้งาน  จะเป็นตัวกำหนดหรือเลือกชนิดตัวต้านทาน
7).  อุณหภูมิแวดล้อมในวงจร จะมีผลต่อความทนและอายุการใช้งานของ R  ข้อนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดวัสดุของ R
6).  ขนาดและรูปร่างของตัวต้านทาน  ให้ใช้ขนาดเดิมจะดีที่สุด  ขนาด R  ใส่ได้พอดีไหม  ?  บางกรณีที่จำเป็นจริงๆอาจมีการดัดแปลงใส่แทน


อ่านหัวข้ออื่นๆที่น่าสนใจต่อ   ดูหัวข้อด้านล่างสุด   >


การวัด  SCR  มอดูล  หรือ  ไทริสเตอร์  มอดูล  









เทียบสเปคไอจีบีทีเพื่อเทียบเบอร์ IGBT

หลักการพื้นฐาน  เทียบเบอร์    IGBT

ไอจีบีที ( IGBT) นิยมใช้กับวงจรที่มีกระแสและแรงดันสูง ความถี่ในการสวิตชิ่งสูง( แต่ความถี่ยังไม่สูงเท่ากับมอสเฟต) การทำงานของ IGBT คล้ายกับมอสเฟตจะเห็นว่ามีชื่อพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าเหมือนกัน แต่ถ้าพิจารณาระดับโครงสร้างข้างในจะแตกต่างกัน  การเทียบสเปคไอจีบีทีต้องเทียบค่ากระแส แรงดันและพารามิเตอร์ที่เกียวกับระยะเวลาการสวิตชิ่ง : Turn on time  , turn off time ,  ค่าความจุอินพุตและเอาต์พุต  การสูญเสียของ IGBT มีการสูญเสียจากการสวิตชิ่ง ( Switching loss)  และการสูญเสียขณะนำกระแส ( conduction loss)    ค่า V(CE_sat) ยิ่งน้อยยิ่งดีเพราะจะทำให้ค่าการสูญเสียขณะนำกระแสน้อยตามไปด้วย


ทรานซิสเตอร์   ທຣານສິດເຕີ

ค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าของ IGBT มีจำนวนมากแต่ให้ไล่เช็คค่าที่สำคัญอันดับต้นๆให้ผ่านก่อน  ค่าระยะเวลา ON และ OFF  ค่าความจุและค่าประจุ Qg  มีผลต่อความเร็วในการสวิตชิ่งและการสูญเสียจากการสวิต ( switching loss)





ค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าของ IGBT

V(CES)      collector -emitter voltage , maximum C-E voltage with gate-emitter shorted

VCE_sat)   collector-emitter saturation voltage

I(C)            collector current ,  maximum  DC collector current

P(D)           device dissipation @ T(c)= 25°C

V(GES)      Gate to emitter voltage

V(GE_th)    Gate to emitter  threshold  voltage

T(on)          Turn-on time

T(r)             Rise time

T(off)          Turn-off time

T(f)             Fall time

Cies            Input capacitance

Coes           Output capacitance

Gg              Gate  charge capacity ,  gate charge to turn on  IGBT



อ่านเพิ่ม    หัวข้ออื่นๆ   


ไอซี ออปโต้คัปเปลอร์ Optocoupler หลักการเทียบสเปค

 หลักการเทียบสเปค  ไอซี   ออปโต้คัปเปลอร์   Optocoupler

ออปโต้คัปเปลอร์มีอินพุตและเอาต์พุต  ภาคอินพุตและเอาต์พุตเชื่อมกันด้วยแสง  กล่าวอีกอย่างภาคอินพุตกับเอาต์พุตไม่ได้เชื่อมกันทางไฟฟ้า  ใช้กับวงจรที่ภาคอินพุตกับเอาต์พุตมีระบบกราวด์ต่างกัน หรือต้องการแยกกราวด์ระหว่างอินพุตกับเอาต์พุตเพื่อความปลอดภัยและมาตรฐานความปลอดภัยกำหนดไว้   ความผิดปกติของวงจรที่ภาคอินพุตหรือเอาต์พุตจะไม่ส่งผลระหว่างกัน  การเทียบสเปคออปโต้คัปเปลอร์ต้องดูโครงสร้างข้างในเพราะภาคเอาต์พุตอาจเป็นโฟโต้ทรานซิสเตอร์   โฟโต้ไทริสเตอร์ ( SCR  Triac )  และ  Photo  FET  ตัวอย่างชื่อของ Output  เช่น    NPN Transistor ,  NPN Darlington  , NPN Dual Transistor , Low input  Drive  NPN  Transistor  , SCR  ,  Triac  ,  Triac with zero crossing circuit  ,  FET  , Hi speed open collector  , Open collector NPN  Transistor  NAND  Gate   , NPN split darlington  , Dual open collector  NPN  transistor .






รูปจากหนังสือ  ECG  , photo from ECG

ไอซี ออปโต้คัปเปลอร์   Optocoupler

ไอซี ออปโต้คัปเปลอร์   Optocoupler

 
สเปคทางไฟฟ้ากรณีออปโต้คัปเปลอร์มีเอาต์พุตเป็นโฟโต้ทรานซิสเตอร์ ก็จะเป็นสเปคของ LED   สเปคของโฟโต้ทรานซิสเตอร์  และ สเปครวมของตัวอุปกรณ์ เช่น

LED  Max  rating.
I(F)      forward current  , mA
V(R)    reverse  current , voltage

Output  Rating.
Vcc (Max) 
Ic    output  current
Delay time
Data Transfer  Rate

Device rating 
P(t)   power
Isolation  rate (V)
CTR   current  transfer   Ratio  ,  % 




เทียบเบอร์ไตรแอค หลักการพื้นฐานเทียบสเปคไตรแอค ( Triac )

หลักการพื้นฐานเทียบสเปคไตรแอค  ( Triac )  

ไตรแอคเป็นอุปกรณ์ที่นำกระแสค้างได้  สั่งให้ ON ผ่านขา G  แต่ไม่สามารถสั่งให้ OFF ผ่านขา G ได้  วิธีการให้ไตรแอคหยุดนำกระแสต้องใช้วงจรอีกชุดควบคุมกระแสและแรงดันที่ขา A1 และ A2  ค่าพารามิเตอร์หรือสเปคทางไฟฟ้าของไตรแอคมีจำนวนมาก ให้เริ่มพิจารณาจากค่าที่สำคัญที่สุดให้ผ่านก่อนเพื่อดูความเป็นไปได้ว่าจะมีโอกาสใช้แทนเบอร์เดิมได้แค่ไหน   หลักๆให้พิจารณาค่ากระแส  แรงดัน  ระยะเวลานำกระแสและหยุดนำกระแส   ( Turn   ON  and  Turn OFF time )  นอกจากนี้ให้ดูค่า di/dt อัตราการเปลี่ยนแปลงกระแส  และ dv/dt อัตราการเปลียนแปลงแรงดัน  2 ค่าสุดท้ายนี้ต้องใช้ค่าเท่าเดิมหรือมากกว่าได้  ถ้าใช้ค่าน้อยกว่ามันจะทนกระแสและแรงดันไม่ได้มีโอกาสเสียหายสูงมากหรือเสียง่าย


เทียบเบอร์ ไตรแอค   Triac




ค่าพารามิเตอร์ทางไฟ้ฟาที่สำคัญและต้องเช็คเป็นอันดับแรก ให้ดูค่าเหล่านี้ให้ผ่านก่อน

V(DRM)       Repetive peak  off-state voltage
V(RRM)       Repetive peak reverse voltage
 I  T(AV)       Mean on-state current
 I  T(RMS)    Nominal  RMS  on-state  current  , max forward current 
 I (H)             Holding current 
 V(GT)          Gate trigger voltage
 I(GT)           Gate triger  current
 t(gt)              Turn on time
 t(rr)               Reverse  recovery  time.
 t(q)               Turn of  time



วิธีวัดไดโอดบริดจ์  อย่างรวดเร็ว            





เลือกหัวข้อ อ่านต่อ

อ่านค่า   R   4  แถบสี

อ่านค่า  R    5  แถบสี

ต่อ คาปาซิเตอร์  C  อนุกรม  และ ขนาน
สูตร  วงจรอนุกรม  วงจรขนาน   กฏการแบ่งกระแส   และ กฏการแบ่งแรงดัน


วัด SCR และไทริสเตอร์มอดูล


วัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง


อ่านค่าเบอร์วาริสเตอร์  ( Varistor )

และหัวข้ออื่นๆ อีกมาก   ให้ดูที่รายการหัวข้อด้านข้าง   หรือ เลื่อนหน้าด้านล่าง  >  เพื่อดูหัวข้อถัดไป


อ่านเพิ่ม    หัวข้ออื่นๆ   



เทียบเบอร์ SCR หลักการพื้นฐาน

หลักการพื้นฐาน   เทียบเบอร์    SCR  

หลักการพื้นฐานเพื่อเทียบสเปค SCR เบอร์เก่ากับเบอร์ใหม่ว่ามีโอกาสใช้แทนได้ไหม  ค่าทางไฟฟ้าหรือพารามิเตอร์ของ SCR มีหลายอย่างแต่จะเริ่มพิจารณาค่าที่สำคัญที่สุดก่อน  เอสซีอาร์มีชื่อเรียกอีกชื่อว่าไทริสเตอร์ สามารถนำกระแสค้างได้  เมื่อมีแรงดันไฟฟ้าทีขา A และ K เอสซีอาร์จะยังไม่นำกระแสเมื่อมีแรงดัน V(GT) และกระแส I(GT) มาทริกที่ขา G มันจีงจะนำกระแส   เมื่อต้องการสั่งให้ SCR หยุดนำกระแสไม่สามารถสั่งที่ขา G ได้  ต้องใช้วงจรควบคุมอีกชุดมาควบคุมแรงดันและกระที่ขา A และขา K  การนำ SCR ไปใช้งานห้ามนำไปใช้ที่จุดพังทลายหรือ Break Down  ปกติจะมีวงจรสนับเบอร์เพื่อป้องกัน  SCR เสียหายจากแรงดัน dV/dt  ที่มากเกินไป   ค่าทางไฟฟ้าที่ต้องเช็คเป็นอันดับต้นๆเพื่อประเมินว่าจะใช้แทนได้หรือไม่มีดังนี้

1)  I(GT)   กระแสทริกขาเกต  ให้เช็คค่า Min  ค่า Max

2)  V (GT) แรงดันทริกขาเกต  ให้เช็คค่า Min  ค่า Max

3)  แรงดัน  V(DRM)   =    Repetitive peak  off-state  voltage  เป็นแรงดันที่ขา A และ K

4)  กระแส  I(T) rms     =    On-state rms current  ต้องเท่ากันหรือมากกว่าได้

5)  กำลังไฟฟ้า     P = average  power dissipation

6)  กระแส I (H)    Holding current 

7)  กระแส  I(L)    Latching current

8) V(F)   =  Peak  forward  volate  drop เป็นแรงดันที่ตกคร่อมขา A และ K  ของ SCR ขณะนำกระแส

9)    di/dt    อัตราการเปลี่ยนแปลงกระแส   ค่า     Max

10)  dv/dt   อัตราการเปลี่ยนแปลงแรงดัน   ค่า  Max

11)  t(gt)   Turn-on Time   เวลาที่ขาเกต หรือ  G   ใช้ในการ ON

12)  t(q)   Turn-off  Time  เวลาที่ต้องใช้เพื่อให้ขา A และ K หยุดนำกระแส  

ให้เช็คค่าที่สำคัญเหล่านี้ก่อนจากนั้นค่อยเช็คพารามิเตอร์อื่นๆ



เทียบเบอร์ SCR  เบอร์แทน  เอสซีอาร์


การวัดไทริสเตอร์ การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง 


การวัดไทริสเตอร์ การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง




หลักการเทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์และสอบถามเบอร์แทนทรานซิสเตอร์ Transistor Replacement

หลักการเทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์   Transistor  Replacement

มีการนำทรานซิสเตอร์ไปใช้ในในวงจรต่างๆ ตั้งแต่วงจรง่ายๆเช่นทำงานเป็นสวิตช์ ( ความถี่ต่ำ )  วงจรขับ ( หรือ Driver )   การใช้งานที่ซับซ้อนขึ้นต้องทำงานร่วมและต่ออุปกรณ์หลายตัว เช่น วงจรขยายสัญญาณ  วงจรสวิชต์ชิ่งความถี่สูง ( มีเรื่องของเวลาทำงานและทามมิ่งของสัญญาณมาเกี่ยวข้อง)  เมื่อทรานซิสเตอร์ตัวเก่าเสีย เลิกผลิต หรือหาอะไหล่เบอร์เดิมไม่ได้  รออะไหล่นาน เราจำเป็นต้องหาเบอร์แทนและอยากรู้ว่าเบอร์ที่มีของอยู่ใช้แทนได้หรือไม่  ?      มีหลักการเทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์ดังนี้


1) ประเภทของทรานซิสเตอร์  NPN หรือ PNP       ต้องเหมือนเดิม
2) ประเภทของวัสดุ  ชนิดซิลิกอน หรือ เจอรมันเนียม         ต้องเหมือนเดิม
3) ตัวถังและตำเหน่งขา   ตัวถังต้องเหมือนกันและตำเหน่งขาต้องเหมือนกัน
4) ประเภทการใช้งานหรือวงจร   ( Application )   ต้องเหมือนกันเช่น เบอร์ใช้ขยายสัญญาณเสียง  
5) ค่าทางไฟฟ้า  มีดังนี้
- ค่ากระแส   Ic   ต้องเท่ากันหรือสูงกว่าได้
- ค่ากำลังไฟฟ้า  P(D)       =   Power Dissipation     ต้องเท่ากันหรือสูงกว่าได้
- อัตราขยายกระแส  hFE   =  Current Gain    ต้องเท่ากันหรือใกล้เคียงกันได้
- แรงดัน  V(CEO)  =  Collector  to  Emitter Voltage     ต้องเท่ากันหรือสูงกว่าได้
- แรงดัน  V(EBO)  =  Base to  Emitter Voltage             ต้องเท่ากันหรือสูงกว่าได้
- แรงดัน  V(CBO)  =  Collector  to  Base  Voltage        ต้องเท่ากันหรือสูงกว่าได้
- ความถี่  gain cutoff frequency              ต้องเท่ากันหรือใกล้เคียงกันได้

ค่า F(t) เป็นความถี่ที่ทรานซิสเตอร์มีอัตราขยายเท่ากับ 1  ถ้าความถี่สูงกว่านี้ทรานซิสเตอร์จะไม่มีอัตราขยายแล้ว เป็นการบอกความสามารถของทรานซิสเตอร์ว่าสามารถใช้กับความถี่สูงสุดระดับไหน  ค่า F(t)  สามารถใช้ค่า F(t)  เท่ากันหรือใกล้เคียงกันได้แต่ไม่ควรใช้ค่า  F(t) ที่สูงกว่าตัวเก่ามากเพราะความถี่สูงหรือความถี่ที่เราไม่ต้องการจะเข้าไปรบกวนในวงจร
หลักการเทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์อันดับแรกในการเทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์ต้องเช็คก่อนว่าทรานซิสเตอร์เบอร์เก่าและเบอร์ใหม่มีประเภทการใช้งานที่เหมือนกันก่อน ( application ) จากนั้นค่อยพิจารณาค่าอื่นๆต่อไป เช่นตัวเดิมใช้ขยายสัญญาณเสียง ก็ควรเล่งไปที่เบอร์ทรานซิสเตอร์ขยายสัญญาณเสียง  เป็นต้น



เทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์   เบอร์แทนทรานซิสเตอร์   ທຣານສິດເຕີ


การวัดไทริสเตอร์ การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง  


การวัดไทริสเตอร์  การวัด SCR




เลือกหัวข้อ อ่านต่อ

อ่านค่า   R   4  แถบสี

อ่านค่า  R    5  แถบสี

ต่อ คาปาซิเตอร์  C  อนุกรม  และ ขนาน
สูตร  วงจรอนุกรม  วงจรขนาน   กฏการแบ่งกระแส   และ กฏการแบ่งแรงดัน


วัด SCR และไทริสเตอร์มอดูล


วัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง


อ่านค่าวาริสเตอร์  ( Varistor )

และหัวข้ออื่นๆ อีกมาก   ให้ดูที่รายการหัวข้อด้านข้าง   หรือ เลื่อนหน้าด้านล่าง  >  เพื่อดูหัวข้อถัดไป