หลักการเทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์และสอบถามเบอร์แทนทรานซิสเตอร์ Transistor Replacement

หลักการเทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์   Transistor  Replacement

มีการนำทรานซิสเตอร์ไปใช้ในในวงจรต่างๆ ตั้งแต่วงจรง่ายๆเช่นทำงานเป็นสวิตช์ ( ความถี่ต่ำ )  วงจรขับ ( หรือ Driver )   การใช้งานที่ซับซ้อนขึ้นต้องทำงานร่วมและต่ออุปกรณ์หลายตัว เช่น วงจรขยายสัญญาณ  วงจรสวิชต์ชิ่งความถี่สูง ( มีเรื่องของเวลาทำงานและทามมิ่งของสัญญาณมาเกี่ยวข้อง)  เมื่อทรานซิสเตอร์ตัวเก่าเสีย เลิกผลิต หรือหาอะไหล่เบอร์เดิมไม่ได้  รออะไหล่นาน เราจำเป็นต้องหาเบอร์แทนและอยากรู้ว่าเบอร์ที่มีของอยู่ใช้แทนได้หรือไม่  ?      มีหลักการเทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์ดังนี้


1) ประเภทของทรานซิสเตอร์  NPN หรือ PNP       ต้องเหมือนเดิม
2) ประเภทของวัสดุ  ชนิดซิลิกอน หรือ เจอรมันเนียม         ต้องเหมือนเดิม
3) ตัวถังและตำเหน่งขา   ตัวถังต้องเหมือนกันและตำเหน่งขาต้องเหมือนกัน
4) ประเภทการใช้งานหรือวงจร   ( Application )   ต้องเหมือนกันเช่น เบอร์ใช้ขยายสัญญาณเสียง  
5) ค่าทางไฟฟ้า  มีดังนี้
- ค่ากระแส   Ic   ต้องเท่ากันหรือสูงกว่าได้
- ค่ากำลังไฟฟ้า  P(D)       =   Power Dissipation     ต้องเท่ากันหรือสูงกว่าได้
- อัตราขยายกระแส  hFE   =  Current Gain    ต้องเท่ากันหรือใกล้เคียงกันได้
- แรงดัน  V(CEO)  =  Collector  to  Emitter Voltage     ต้องเท่ากันหรือสูงกว่าได้
- แรงดัน  V(EBO)  =  Base to  Emitter Voltage             ต้องเท่ากันหรือสูงกว่าได้
- แรงดัน  V(CBO)  =  Collector  to  Base  Voltage        ต้องเท่ากันหรือสูงกว่าได้
- ความถี่  gain cutoff frequency              ต้องเท่ากันหรือใกล้เคียงกันได้

ค่า F(t) เป็นความถี่ที่ทรานซิสเตอร์มีอัตราขยายเท่ากับ 1  ถ้าความถี่สูงกว่านี้ทรานซิสเตอร์จะไม่มีอัตราขยายแล้ว เป็นการบอกความสามารถของทรานซิสเตอร์ว่าสามารถใช้กับความถี่สูงสุดระดับไหน  ค่า F(t)  สามารถใช้ค่า F(t)  เท่ากันหรือใกล้เคียงกันได้แต่ไม่ควรใช้ค่า  F(t) ที่สูงกว่าตัวเก่ามากเพราะความถี่สูงหรือความถี่ที่เราไม่ต้องการจะเข้าไปรบกวนในวงจร
หลักการเทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์อันดับแรกในการเทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์ต้องเช็คก่อนว่าทรานซิสเตอร์เบอร์เก่าและเบอร์ใหม่มีประเภทการใช้งานที่เหมือนกันก่อน ( application ) จากนั้นค่อยพิจารณาค่าอื่นๆต่อไป เช่นตัวเดิมใช้ขยายสัญญาณเสียง ก็ควรเล่งไปที่เบอร์ทรานซิสเตอร์ขยายสัญญาณเสียง  เป็นต้น



เทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์   เบอร์แทนทรานซิสเตอร์   ທຣານສິດເຕີ


การวัดไทริสเตอร์ การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง  


การวัดไทริสเตอร์  การวัด SCR




เลือกหัวข้อ อ่านต่อ

อ่านค่า   R   4  แถบสี

อ่านค่า  R    5  แถบสี

ต่อ คาปาซิเตอร์  C  อนุกรม  และ ขนาน
สูตร  วงจรอนุกรม  วงจรขนาน   กฏการแบ่งกระแส   และ กฏการแบ่งแรงดัน


วัด SCR และไทริสเตอร์มอดูล


วัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง


อ่านค่าวาริสเตอร์  ( Varistor )

และหัวข้ออื่นๆ อีกมาก   ให้ดูที่รายการหัวข้อด้านข้าง   หรือ เลื่อนหน้าด้านล่าง  >  เพื่อดูหัวข้อถัดไป