ตัวต้านทานทำหน้าที่อะไร
บทความนี้จะอธิบายประโยชน์ของตัวต้านทานว่าตัวต้านทานทำหน้าที่อะไรในวงจร จะอธิบายแบบสรุปเพื่อให้เห็นภาพกว้างๆ ตัวต้านทานเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานที่มีความสำคัญมากเนื่องจากเกือบทุกๆวงจรจะต้องใช้ตัวต้านทาน ดูรูปวงจรข้างล่างเป็นตัวอย่างเป็นวงจรรักษาระดับแรงดันไฟให้คงที่ จะสังเกตว่าวงจรนี้ใช้ตัวต้านทานหลายตัว อุปกรณ์ตัวที่ลูกศรชี้คือตัวต้านทานและอุปกรณ์ตัวอื่นๆในวงจรที่มีลักษณะเหมือนกันคือมีแถบสีก็เป็นตัวต้านทานเช่นกัน ตัวต้านทานมีหลายค่าและจะใช้แถบสีเพื่อระบุค่าความต้านทาน
ตัวต้านทานทำหน้าที่อะไรในวงจร
1) จำกัดปริมาณกระแสไฟฟ้า
( Current Limitting ) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายตัวใช้กระแสไฟแค่นิดเดียวก็สามารถทำงานได้แล้วถ้าปล่อยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านจำนวนมากเกินกว่าทีมันต้องการอุปกรณ์ตัวนั้นจะไหม้เสียหายทันที
ยกตัวอย่างเช่น
LED หรือไดโอดเปล่งแสงมันต้องการกระแสไฟฟ้าเพียงแค่
15mA ก็ทำให้มันสว่างได้แล้ว
จากรูปถ้าเราต่อไฟ 9VDC ให้ LED ตรงๆ
LED จะไหม้โดยรอยต่อข้างในทะลุเสียหายทันทีเนื่องจากมีกระแสไหลผ่านจำนวนมาก
วิธีแก้คือใช้ตัวต้านทานเพื่อลดหรือจำกัดปริมาณกระแสไฟฟ้าให้มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไม่เกิน
15mA ( ตามสเปคของมัน )
ส่วนค่าความต้านทานที่เหมาะสมต้องคำนวณและวิธีคำนวณจะมีการเรียนในสาขาอิเล็กทรอนิกส์ไฟฟ้า
วิศวกรรมและช่างซ่อม
ใช้ตัวต้านทานทำหน้าที่จำกัดกระแสที่ไหลในวงจร
อีก
1 ตัวอย่างของการใช้ตัวต้านทานจำกัดปริมาณกระแสคือไขควงเช็คไฟ
วงจรข้างในของไขควงเช็คไฟจะมีตัวต้านทานค่าสูงมากค่าประมาณล้านโอห์มและมีหลอดนีออน
ตัวต้านทานค่าสูงๆนี้จะจำกัดปริมาณกระแสที่ไหลให้มีปริมาณน้อยมากๆซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อคนเมื่อเราใช้มือแตะด้ามไขควงเช็คไฟ
ปริมาณกระแสที่ไหลนี้ถึงแม้จะน้อยมากแต่ก็ยังเพียงพอที่จะทำให้หลอดนีออนสว่างและใช้เป็นตัวบอกสถานะการเช็คว่ามีไฟหรือไม่มีไฟ
วงจรข้างในของไขควงเช็คไฟรุ่นนี้มีตัวต้านทานค่า 820,000
โอห์ม
ข้างในประกอบด้วยตัวต้านทานและหลอดนีออน
2). กำหนดจุดทำงานให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตัวอื่นๆ
โดยการกำหนดปริมาณแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าคำศัพท์เฉพาะทางเรียกว่าการไบอัส
วงจรหนึ่งวงจรต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายตัวมาประกอบกันจึงจะเป็นวงจรซึ่งต้องมีการเลือกค่าและคำนวณตามหลักการ
ยกตัวอย่างเช่นวงจรด้านล่างนี้
ใช้ตัวต้านทานทำหน้าที่กำหนดจุดทำงานให้ทรานซิสเตอร์ ปกติแล้วทรานซิสเตอร์สามารถประกอบเป็นวงจรได้หลายอย่างมาก
เช่น
วงจรสวิตช์
วงจรขยาย
วงจรกำเนิดสัญญาณแบบต่างๆ
เป็นต้น
การใช้งานทรานซิสเตอร์เบื้องต้นก็ต้องใช้ร่วมกับตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ
ใช้ตัวต้านทานกำหนดจุดทำงานให้ทรานซิสเตอร์ (
การไบอัสทรานซิสเตอร์ )
3. ใช้ตัวต้านทานตรวจจับกระแสไฟ
( Current sense Resistor ) วิธีวัดปริมาณกระแสไฟมีหลายวิธี
การใช้ตัวต้านทานตรวจจับกระแสไฟเป็นวิธีที่ราคาถูกมากจึงนิยมใช้ในหลายวงจรเพื่อลดต้นทุนการผลิต
เพื่อเช็คว่ามีกระแสไหลเกินหรือมีกระแสไหลมาเป็นปกติหรือไม่ เรียกวงจรในส่วนนี้ว่าวงจรป้องกัน
Over Current Protection ตัวต้านทานตรวจจับกระแสจะมีค่าความต้านทานระดับมิลลิโอห์มหรือค่าความต้านไม่สูง
เช่น 0.5 โอห์ม
1 โอห์ม เป็นต้น เมื่อมีกระแสไหลผ่านตัวต้านทานตรวจจับกระแสจะมีแรงดันตกคร่อมตัวต้านทานตามกฏของโอห์ม
V= IR และใช้แรงดันตกคร่อมตัวต้านทานนี้ส่งให้อุปกรณ์ตัวอื่นทำงานทำงานต่อไป
การเลือกค่าความต้านทานและความสัมพันธ์ระว่างกระแสและแรงดันไฟฟ้าจะมีการคำนวณ