วิธีการใช้หนังสือ ECG หรือวิธีเปิดหนังสือ ECG เพื่อเทียบเบอร์และหาเบอร์แทนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

 หนังสือ ECG เป็นหนังสือที่รวบรวมและแนะนำเบอร์แทน / เทียบเบอร์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  บทความนี้จะสาธิตวิธีเปิดหนังสือนี้     มารู้จักสารบัญของหนังสือนี้ก่อนเปิดใช้งาน จะสังเกตว่ามีหมวดหมู่ต่างๆ   โดยหมวดหมู่สุดท้ายคือ CROSS  REFERENCE และหมวดหมู่แรกคือ Product Index   ส่วนช่วงกลางๆเป็นหมวดหมู่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดต่างๆ


หนังสือ ECG  เทียบเบอร์ หาเบอร์แทนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์



หนังสือ ECG   เทียบเบอร์



วิธีจำง่ายๆและเข้าใจง่ายในการเปิดหนังสือ ECG  เรียงเป็นลำดับ 1-2-3  คือ
1)  เปิดด้านหลัง  ( ดู   CROSS  REFERENCE )  จะได้  ECG  No.  จากนั้น
2)  เปิดด้านหน้า  ( ดู  Product Index )  จะได้  Page No.
3)  เปิดหน้ารายละเอียดอุปกรณ์  ซึ่งได้มาจากขั้นตอนที่  2



ตัวอย่างการเปิดใช้งานและหาเบอร์แทน


จะยกตัวอย่างกรณีง่ายๆเพื่อให้เข้าใจคอนเซปต์ก่อน  สมมติว่าเราต้องการหาเบอร์แทนทรานซิสเตอร์เบอร์  TIP35A   จะเป็นทรานซิสเตอร์เบอร์อะไรใช้แทนได้  ?   เราทราบมาแล้วเบื้องต้นว่าทรานซิสเตอร์เบอร์  TIP35A   TIP35B  และ  TIP35C  เป็น Series อนุกรมเดียวกัน โดยทั้ง 3 รุ่นนี้จะแตกต่างกันที่แรงดัน Vceo  คือ   TIP35A  =  60V   ,  TIP35B  =  80V  ,    TIP35C = 100V
ดังนั้นเบอร์   TIP35C  จะสามารถใช้แทนเบอร์   TIP35A และ TIP35B  ได้
มาถึงตอนนี้เราจะลองใช้หนังสือ ECG เปิดหาเบอร์แทนบ้าง

1) นำเบอร์อุปกรณ์ที่ต้องการหาเบอร์แทนไปเปิดดู   CROSS  REFERENCE  ซึ่งเป็นหมวดหมู่อยู่ด้านหลังสุด   นำเบอร์อุปกรณ์ตามตัวอย่างคือ TIP35A  ดูตรงช่อง To be  Replaced  จากนั้นดูตรงช่อง  ECG Replacement จะได้เลข   392    จะสังเกตว่าทรานซิสเตอร์เบอร์   TIP35A   TIP35B และ TIP35C  มีเลข ECG  392 เหมือนกันทำให้เราทราบเบื้องต้นว่า 3 เบอร์นี้ใช้แทนกันได้
แต่อย่าพึ่งด่วนสรุปและนำไปใช้แทนทันที่ เพราะต้องเช็คค่าทางไฟฟ้าอื่นๆประกอบก่อนเสมอ  ก่อนนำไปใช้งานจริง     ดูรูปด้านล่าง


วิธีดูตาราง ECG  เทียบเบอร์



วิธีดูตาราง ECG  เทียบเบอร์




2)  นำ  ECG Number ที่ได้จากข้อ 1) ตามตัวอย่างคือ  392   ไปเปิดดู  Product Index   ซึ่งเป็นหมวดหมู่อยู่ด้านหน้าสุด     ณ ที่ตรงข้อ2) นี้  ทำให้เราทราบข้อมูลอุปกรณ์เบื้องต้น  พร้อมกับได้เลขที่หน้า  Page No.  คือ 1-50  และเลขที่รูป  Fig No.   คือ   T48     ดูรูปด้านล่าง


วิธีดูตาราง ECG  เทียบเบอร์

วิธีดูตาราง ECG  เทียบเบอร์

วิธีดูตาราง ECG  เทียบเบอร์

นำ ECG Number ที่อยู่หมวดหมู่ด้านหลังสุด  มาเปิด Product Index ซึ่งเป็นหมวดหมู่ด้านหน้าสุด
ณ   ที่ตรง Product Index  นี้จะได้ Page No. และ Fig No.


3)  นำ Page No. และ  Fig No.  ที่ได้จากข้อ 2)  มาเปิดหาข้อมูลต่อ   จะได้ข้อมูลและรายละเอียดอื่นๆ เพิ่ม  คือหน้าที่ใช้อธิบายรายละเอียดค่าทางไฟฟ้าต่างๆ    รูปอุปกรณ์   ตัวถังและตำเหน่งขา
ตามตัวอย่าง Page No. คือ  1-50  และ Fig No. คือ  T48


ผลการเปิดหน้า  Page No. 1-50  และ Fig No.  T48 จะได้ตามนี้


หนังสือ ECG



ข้อควรระวังในการใช้หนังสือ ECG เทียบเบอร์  จะสังเกตว่าทรานซิสเตอร์เบอร์ TIP35A  TIP35B  และ TIP35C  มีเลขที่ ECG No. เหมือนกันคือ  ECG 392  ดูคราวๆเหมือนจะใช้แทนกันได้หมดแต่ไม่ได้ทุกกรณีคือ TIP35C มีแรงดัน Vceo 100V ใช้แทน TIP35A ซึ่งมีแรงดัน Vceo 60V ได้ แต่กลับกันเบอร์ TIP35A ไม่สามารถใช้แทน TIP35C ได้เนื่องจากแรงดัน Vceo น้อยกว่านั้นเอง
ให้อ่านเรื่องนี้เพิ่ม  หลักการพิจารณาอีกรอบ เบอร์แทนที่หนังสือ ECG แนะนำไว้   https://www.alternativeelecpn.com/2022/05/scr-ic-ecg.html




การวัด  SCR มอดูล   การวัดไทริสเตอร์   ดีหรือเสีย




เลือกหัวข้อ อ่านต่อ

การอ่านค่าตัวต้านทาน   อ่านสีตัวต้านทาน    R  4   แถบ

การอ่านค่าตัวต้านทาน   อ่านสีตัวต้านทาน   R   5   แถบ

ต่อ คาปาซิเตอร์  C  อนุกรม  และ ขนาน
สูตร  วงจรอนุกรม  วงจรขนาน   กฏการแบ่งกระแส   และ กฏการแบ่งแรงดัน


วัด SCR และไทริสเตอร์มอดูล


วัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง


อ่านค่าเบอร์วาริสเตอร์  ( Varistor )

และหัวข้ออื่นๆ อีกมาก   ให้ดูที่รายการหัวข้อด้านข้าง   หรือ เลื่อนหน้าด้านล่าง  >  เพื่อดูหัวข้อถัดไป


หลักการเทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์ มอสเฟต ไดโอด SCR ไตรแอค เทียบเบอร์ IC และอื่นๆ ตามแนวหนังสือ ECG

หลักการเทียบเบอร์   ทรานซิสเตอร์  มอสเฟต   ไดโอด   SCR  ไตรแอค และอื่นๆ  ตามแนวหนังสือ  ECG  Guide

หลักการเทียบเบอร์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อธิบายไว้ในหนังสือ ECG หรือการใช้หนังสือ ECG   บทความนี้เรียบเรียงจากหัวข้อ  " How to use the ECG Master Replacement  Guide  "  อธิบายหลักการสำคัญไว้ตามด้านล่าง


หนังสือ ecg  เทียบ เบอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์



เนื่องจากเบอร์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีเป็นจำนวนมากแต่ละปีมีอุปกรณ์ใหม่ๆถูกผลิตขึ้นจำนวนมาก เบอร์เก่าๆเลิกผลิตก็มีเป็นจำนวนมากเช่นกัน เป็นไปไม่ได้ที่จะมีหรือบรรจุเบอร์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไว้ในหนังสือ ECG ได้ทั้งหมด  ยิ่งปัจจุบันนี้หนังสือเลิกผลิตและไม่ได้ Update นานแล้ว (หนังสือนี้หายาก)     อย่างไรก็ตามหลักการที่สำคัญและแนวทางที่หนังสือ  ECG  แนะนำไว้ยังคงใช้ได้และควรค่าแก่การศึกษาสำหรับช่างในการหาเบอร์แทน  อีกทั้งเกร็ดความรู้ต่างๆเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีแทรกในหนังสือ ECG  นี้ก็มีเป็นจำนวนมากและน่าศึกษา    ถ้าเป็นช่างและทำงานเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ควรหาศึกษาไว้


หลักการเทียบเบอร์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
1. ให้เช็คอีกรอบก่อนใช้เบอร์แทนเสมอ  ( Verify the replacement )  เมื่อได้เบอร์แทนตามที่หนังสือแนะนำไว้แล้ว ให้ตรวจสอบอีกครั้งก่อนใช้งาน   เนื่องจากอุปกรณ์หนึ่งเบอร์มีการประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายวงจร  วงจรที่ซ่อมอยู่อาจแตกต่างจากวงจรมาตรฐานก็เป็นไปได้  ควรตรวจสอบให้แน่ใจเกี่ยวกับตัวถัง ตำเหน่งขา  ขนาด ( Physical dimensions )  และค่าทางไฟฟ้าต่างๆ (  Electrical characteristics )  ก่อนนำไปใช้งานจริงเสมอ
2. การเปิดหนังสือ ECG อาจเจอเบอร์แทนแนะนำไว้ หรือไม่เจอเบอร์แทน    กรณีไม่เจอเบอร์แทนให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

การเทียบเบอร์แทนเองนั้นช่างต้องเข้าใจการทำงานของอุปกรณ์
2.1)   เปรียบเทียบค่าทางไฟฟ้า เช่น กระแส แรงดัน ความเร็วในการทำงาน   ความถี่  เป็นต้น
2.2 )  เปรียบเทียบตัวถัง  ตำเหน่งขา และขนาด
2.3 )  เปรียบเทียบฟังก์ชันหรือการทำงาน   ต้องเหมือนกัน
2.4 )  เปรียบเทียบประเภทการใช้งาน ( Application ) หรือชนิดวงจร 
2.5 )   อื่นๆ เช่น มาตรฐานของอุปกรณ์   และ  ระดับ  Class ที่นิยมใช้กันและอ้างอิงในวงการ


ในการเทียบเบอร์แทนอาจได้เบอร์ใหม่แบบต่างๆ  แบ่งประเภทเป็น
- สเปคดีกว่าเบอร์เก่า  เช่น    ทนกระแสได้มากกว่า  ทนแรงดันได้มากกว่า  หรือ มีคุณสมบัติบางอย่างที่ดีกว่า ( superior performance )  เบอร์เก่าเลิกผลิตแล้วปรับปรุงคุณสมบัติให้ดีกว่าเดิม      กรณีแรกนี้ใช้แทนได้สำหรับงานซ่อม
- เป็นเบอร์แทนโดยตรง ( Direct replacement )   โดยปกติผู้ผลิตจะแนะนำเบอร์แทนโดยตรงไว้  โดยฟังก์ชั่นและตัวถังของอุปกรณ์จะเหมือนกัน และค่าทางไฟฟ้าต่างๆก็ใกล้เคียงกันมาก  เช่น เบอร์หลักของอุปกรณ์เหมือนกันแต่ต่างกันที่โรงงานผลิต  หรือเป็นอะไหล่ OEM ที่เจาะจงผลิตมาเพื่อแทนเบอร์เก่าที่มากับเครื่อง  เป็นต้น 
- เป็นเบอร์สเปคใกล้เคียง  ( possible replacement )   คือฟังก์ชั่นและตัวถังของอุปกรณ์เหมือนกัน แต่ค่าทางไฟฟ้าต่างๆแค่ใกล้เคียงกัน    ช่างต้องใช้ประสบการณ์และความรู้พิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสม โดยยึดหลักการและทฤษฏีทางไฟฟ้าไว้เสมอและคำนึงถึงผลที่จะได้ตามมาจากการใช้เบอร์สเปคใกล้เคียงนี้   เช่น กรณีเบอร์ลงท้ายของทรานซิสเตอร์   2SC281 ไม่มี   อาจใช้เบอร์ใกล้เคียงใน Series เดียวกันคือ  2SC281A



เลือกหัวข้อ อ่านต่อ

อ่านค่า   R   4  แถบสี     การอ่านค่าตัวต้านทาน   อ่านสีตัวต้านทาน     4  แถบ

อ่านค่า  R    5  แถบสี    การอ่านค่าตัวต้านทาน   อ่านสีตัวต้านทาน     5  แถบ

ต่อ คาปาซิเตอร์  C  อนุกรม  และ ขนาน
สูตร  วงจรอนุกรม  วงจรขนาน   กฏการแบ่งกระแส   และ กฏการแบ่งแรงดัน


วัด SCR และไทริสเตอร์มอดูล


วัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง


อ่านค่าวาริสเตอร์  ( Varistor )

และหัวข้ออื่นๆ อีกมาก   ให้ดูที่รายการหัวข้อด้านข้าง   หรือ เลื่อนหน้าด้านล่าง  >  เพื่อดูหัวข้อถัดไป