ถามเรื่องคาปาซิเตอร์ และค่า c ที่ใช้แทนกันได้ เทียบสเปคตัวเก็บประจุ

เทียบสเปคตัวเก็บประจุ   คาปาซิเตอร์ และค่า C ที่ใช้แทนกันได้

มองไปที่บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์หรือวงจรจะพบว่ามีคาปาซิเตอร์จำนวนมาก นั่นหมายถึงว่าโอกาสที่จะเจอคาปาซิเตอร์เสียก็มีมากตามไปด้วย การเทียบสเปคตัวเก็บประจุหรือค่า c ที่ใช้แทนกันได้จึงเป็นสิ่งจำเป็น  ในการพิจารณาว่าคาปาซิเตอร์ 2 ตัวนี้ใช้แทนกันได้ไหม ?  มีหัวข้อที่ต้องเช็คต่อไปนี้

1)   ค่าความจุเท่ากัน   ( บางวงจรหรือบางกรณีอาจใช้ค่าใกล้เคียงได้)
2)   แรงดันไฟฟ้าเท่ากัน หรือมากกว่าได้  คาปาซิเตอร์โวลต์สูงกว่าตัวเดิมใช้แทนได้
3)   % คาดเคลื่อน  ให้ใช้เท่ากัน หรือน้อยกว่าก็ได้  ยิ่งน้อยยิ่งดี
4)   ชนิดของคาปาซิเตอร์ เช่น ชนิดอิเล็กทรอไลต์  ชนิดฟิล์ม  ชนิดเซรามิค  ชนิดไมก้า  ชนิดแทนทาลัม เป็นต้น ต้องเป็น C   ชนิดเดิมและควรเป็น C ชนิดเดิม  เนื่องจากแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่แตกต่างกัน ตอนออกแบบวงจรคนออกแบบวงจรได้พิจารณาเลือกแล้วว่า C นั้นเหมาะกับชนิดของวงจร
5)  เกรดของ Capacitor  คาปาซิเตอร์นั้นถึงแม้จะเป็นชนิดเดียวกันแต่มันมีหลายเกรด เช่น  C อิเล็กทรอไลต์  มีเกรด Long Life อายุใช้งานนานกว่าแบบธรรมดา   ชนิด Genernal  Purpose ใช้งานทั่วไป   ชนิด Low  Impedance  Low  Loss ใช้งานกับวงจรความถี่สูงสวิชชิ่งที่เน้นการสูญเสียน้อย    ชนิด Audio  Grade ใช้กับย่านความถี่เสียงไม่เพี้ยน  เป็นต้น  C ชนิดเซรามิคมีเกรด  NP0   X7R   Y5U  Z5U เป็นต้น โดยชนิดของวงจรจะเป็นตัวกำหนดหรือเลือกเกรดของ  C      
6)  อุณหภูมิใช้งานและทดสอบ  มี  85°C    125°C    150°C   200°C  ใช้แบบเดิมหรือสูงกว่าได้
7)  ขนาดและลักษณะตัวถัง เช่น แบบลงปริ้น ( ขายาว)   แบบแนวตั้ง   แนวนอน  ขาน๊อต   แบบ SMD
8)  ลักษณะของกระแสและแรงดัน  ความถี่  เช่น   ไฟเรียบนิ่ง    ไฟกระชาก    มีริปเปิ้ล  C ต้องทนลักษณะไฟเหล่านี้ได้ ซึ่งจะกำหนดและพิจารณาตอนออกแบบวงจร

สิ่งที่มีผลต่ออายุใช้งานของคาปาซิเตอร์หรือเร่งให้ C เสื่อมเร็ว  คือ  แรงดันไฟฟ้าและ อุณหภูมิการเลือกต้องพิจารณาและเผื่อค่าไว้ให้สูงกว่า



หัวข้อ     น่าสนใจ     อ่านต่อ    ด้านล่าง

คาปาซิเตอร์  Capacitor    ຕົວເກັບປະຈຸ






วัดไดโอดบริดจ์ด้วยมิเตอร์ดิจิตอล


วัดไดโอดบริดจ์ด้วยมิเตอร์ดิจิตอล





เลือกหัวข้อ  ได้เลย

การอ่านค่าตัวต้านทาน   อ่านสีตัวต้านทาน     4  แถบ

การอ่านค่าตัวต้านทาน   อ่านสีตัวต้านทาน     5  แถบ

ต่อ คาปาซิเตอร์  C  อนุกรม  และ ขนาน
สูตร  วงจรอนุกรม  วงจรขนาน   กฏการแบ่งกระแส   และ กฏการแบ่งแรงดัน


วัด SCR และไทริสเตอร์มอดูล


วัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง


อ่านค่าเบอร์วาริสเตอร์  ( Varistor )

และหัวข้ออื่นๆ อีกมาก   ให้ดูที่รายการหัวข้อด้านข้าง   หรือ เลื่อนหน้าด้านล่าง  >  เพื่อดูหัวข้อถัดไป




วัดไดโอดบริดจ์ด้วยมิเตอร์ดิจิตอล อย่างรวดเร็วได้ผลเกิน 50%

วัดไดโอดบริดจ์ด้วยมิเตอร์ดิจิตอล

การวัดไดโอดบริดจ์ 4 ขา หรือไดโอดบริดจ์ไฟ  220v  และ  ไดโอดบริดจ์ไฟ  3 เฟส  ก่อนวัดให้ดูตำเหน่งขาก่อนวัดและให้วัดขณะที่ไม่มีไฟ ( วัดนอกวงจร)   สังเกตที่ขา + และ - จะมีไดโอด 2 ตัวต่ออนุกรมกันอยู่  ค่าที่ควรได้ตามทฤษฏีคือ   0.7V  x  2  =  1.4V   ไดโอดบางเบอร์อาจได้  0.4 X  2  =  0.8V  โดยประมาณขึ้นอยู่กับเบอร์


"   ที่ว่าวัดอย่างรวดเร็วคือ ถ้าวัดขั้นตอนที่ 1 แล้วไม่ผ่านหรือเสีย  ก็ไม่จำเป็นต้องวัดขั้นตอนอื่นๆอีกแล้ว  "



วงจรข้างในของไดโอดบริดจ์ไฟ  3  เฟส  สังเกตที่ขา + และ - จะมีไดโอด 2 ตัวต่ออนุกรมกันอยู่



ตำเหน่งขาไดโอดบริดจ์ไฟ  220Vac      ขา + -  อยู่ริม      ขา AC อยู่ด้านใน


ลำดับการวัด
ก่อนวัดปรับมิเตอร์ไปที่ย่านวัดไดโอด ที่หน้าจอจะแสดงสัญลักษณ์ไดโอดเพื่อบอกว่ากำลังอยู่ในโหมดวัดไดโอด

1)    วัดขา + -  ควรมีแรงดัน VF ตกคร่อมไดโอด  0.7V    x  2  =  1.4V  หรือ   ไดโอดบางเบอร์อาจได้     0.4 X  2  =  0.8V   ถ้าวัดและสลับสายวัดแล้วไม่มีแรงดันตกคร่อมไดโอดใดๆ เลยคือเสีย 
Note : ไดโอดมอดูลตัวใหญ่อาจต้องใช้แรงกดด้วย ถ้าวัดหลายครั้งอาจจะมีประจุค้างในรอยต่อ PN  ทำให้ผลการวัดเพี้ยนว่าเสียได้ทั้งๆที่ไม่ได้เสีย ( เป็นบางเบอร์ ให้วัดเทียบกันโดยใช้เบอร์ที่เหมือนกัน )


test  diode   bridge with multimetertest  diode   bridge with multimeter
วัดขา + และ - ควรมีแรงดัน VF ตกคร่อมไดโอด VF x 2  ( 0.7x2 หรือ 0.4x2 โดยประมาณ ) ขึ้นอยู่กับเบอร์



2)   วัดขา AC และขา AC  สายไฟสลับกับสายไฟสลับ ( AC กับ AC )วัดแล้วต้องไม่ขึ้นค่าความต้านใดๆเลย   ( แสดงค่า OL )  คือดี      ถ้าขึ้น 000 คือช๊อตกัน ( เสีย )

test   diode  with   multimeter
วัดขา AC กับ AC ดี  คือแสดง OL 




เลือกหัวข้อ อ่านต่อ

อ่านค่า   R   4  แถบสี

อ่านค่า  R    5  แถบสี

ต่อ คาปาซิเตอร์  C  อนุกรม  และ ขนาน
สูตร  วงจรอนุกรม  วงจรขนาน   กฏการแบ่งกระแส   และ กฏการแบ่งแรงดัน


วัด SCR และไทริสเตอร์มอดูล


วัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง


อ่านค่าเบอร์วาริสเตอร์   ( Varistor  )

และหัวข้ออื่นๆ อีกมาก   ให้ดูที่รายการหัวข้อด้านข้าง   หรือ เลื่อนหน้าด้านล่าง  >  เพื่อดูหัวข้อถัดไป